หน้าเว็บ

การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ : Strawberry

 


การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่

          การเตรียมแปลูกสตรอว์เบอร์รี่ แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต และ การปลูกเพื่อผลิตต้นไหล ในที่นี้เราจะพูดถึงเรื่อง การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ กันส่วนขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ มีวิธีดังต่อไปนี้ครับ

การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่
          การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ก่อนเตรียมแปลงปลูกในเดือนเมษายน จะมีการปลูกพืชพืชตระกูลถั่วเพื่อบำรุงดิน ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างข่าง ใช้ถั่วพุ่มดาเนื่องจากต้องการน้้ำน้อย เมื่อถึงเดือนมิถุนายนถั่วจะออกดอกจึงทำการไถกลบ ในเดือนกรกฎาคมจึงทำการเตรียมแปลงปลูกโดยหว่านปูนขาวอัตรา 60 - 80 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดิน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย) พร้อมไถดะ ไถแปร เพื่อพลิกดิน พึ่งดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดศัตรูสตรอว์เบอร์รี่และวัชพืช หลังจากนั้นจึงนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ผลสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในอัตราส่วน 2 - 2.5 ตันต่อไร่ คลุกลงในดินลึก 2 - 3 นิ้ว ก่อนขึ้นแปลงปลูก เตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องให้ฐานกว้างประมาณ 75 เซนติเมตร สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร สันแปลงกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร

การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่


สภาพแปลงที่พร้อมปลูกสตรอว์เบอร์รี่

การคลุมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่
          เนื่องจากสตรอว์เบอร์รี่มีระบบรากตื้น พืชจะเหี่ยวได้ง่ายเมื่อหน้าดินขาดความชื้นจึงจำเป็นต้องคลุมแปลงปลูกด้วยวัสดุ เพื่อ ป้องกันหน้าดินแห้งและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ควบคุมวัชพืช ลดการระบาดของโรคทางใบ รวมทั้งป้องกันไม่ให้ผลสตรอว์เบอร์รี่เกิดการเสียหายเนื่องจากสัมผัสกับดิน โดยทำการคลุมก่อนปลูกหรือหลังปลูกได้ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งวัสดุคลุมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. ฟางข้าว หาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูกแต่มักย่อยสลายได้เร็วต้องคอยใส่ฟางข้าวเพิ่มเติมหลังปลูก และมักพบบ่อยว่าผลผลิตเน่าเสียช้ำง่ายเนื่องจากฟางข้าวหลงติดไปกับผลสตรอว์เบอร์รี่ ทำความสะอาดยากซึ่งเป็นปัญหากับการส่งออก

2. ใบตองตึงหรือใบตองเหียง ที่ทำเป็นตับเช่นเดียวกับที่ใช้มุงหลังคาเป็นวัสดุคลุมแปลงที่นิยมใช้ มีอายุคงทนกว่าฟางข้าว โดยนำมาคลุมทั้งสองด้านของแปลง ชิดกับต้นที่ปลูกเป็นแถวจะมีที่ว่างสำหรับให้น้ำให้ปุ๋ยได้ แล้วใช้ไม้ไผ่ตอกประกับตามแนวยาวเพื่อยึดใบตองตึงกับพื้นดิน

3. พลาสติก มีหลายประเภทเช่นพลาสติกสีเงิน-ดำ มีลักษณะคือด้านหนึ่งสีดา อีกด้านสีเงิน โดยเวลาคลุมต้องเอาด้านสีเงินหันขึ้นเนื่องจากสามารถไล่พวกเพลี้ยไฟต่าง ๆ ได้ดี สามารถคลุมวัสพืชได้บางชนิด สำหรับพลาสติกสีดาไม่ควรใช้อย่างยิ่งเนื่องจากดูดความร้อนทำให้อุณหภูมิดินใต้พลาสติกสูงเป็นอันตรายต่อระบบราก อีกทั้งผลของสตรอว์เบอร์รี่ที่สัมผัสกับพลาสติกดำที่ร้อนจัดจะเสียหายเป็นรอยตำหนิ นอกจากนี้พลาสติกมีราคาแพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง


การคลุมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ด้วยใบตองตึง

          การเตรียมแปลงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ส่วนใหญ่ที่ทำกันอย่างแพร่หลายมีเท่านี้ครับ ส่วนบทความต่อไปจะมานำเสนอถึงเรื่อง การปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ครับ

*-*-*-*-*-*
ต้นพันธุ์สตอเบอร์รี่

โดย : คงกฤช อินทแสง
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดกาญจนบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น